วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

ประเพณีการแข่งเรือ

       ประเพณีแข่งเรือ เป็นประเพณีหน้าน้ำของคนไทย เป็นการละเล่นในยามน้ำหลากที่สืบทอดมาแต่โบราณ และมักมีการแข่งเรือควบคู่ไปกับการทำบุญ ปิดทอง ไหว้พระและงานกฐิน ช่วยสร้างบรรยากาศให้งานบุญครึกครื้นขึ้น


       ประเพณีแข่งเรือ เป็นการละเล่นที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยในชนบทถิ่นที่อยู่อาศัยใกล้น้ำ ในช่วงเดือนสิบเอ็ดและเดือนสิบสอง ชาวบ้านเว้นว่างจากการทำไร่ทำนา เป็นโอกาสที่หนุ่มสาวได้พบปะเกี้ยวพาราสีกัน ได้เห็นฝีไม้ลายมือของชายอกสามศอก ได้เห็นความสามัคคีพร้อมเพรียงของเหล่าหนุ่มฝีพาย การแข่งเรือมักมีการเล่นเพลงเรือ เพลงปรบไก่ เพลงครึ่งท่อน และสักวาโต้ตอบกันระหว่างหนุ่มสาวหลังการแข่งเรือ เป็นกรใช้ฝีปากไหวพริบและความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอน โต้ตอบเกี้ยวพาราสีกัน ได้แสดงความสามารถทั้งหญิงและชาย ผู้ดูมีทั้งอยู่บนตลิ่ง และที่พายเรือกันไปเป็นหมู่ ต่างสนุกสนานกันทั่วหน้า


       เรือแข่งที่แถบชาวบ้านลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาใช้แข่ง เรียกเรือยาว ซึ่งทำจากท่อนซุงทั้งต้น การต่อเรือยาวต้องใช้ความรู้ ความชำนาญมาก จึงจะได้เรือที่สวยและแล่นได้เร็วเวลาพาย


       ปัจจุบันประเพณีการแข่งเรือยังมีเหลืออยู่บ้างไม่มากเหมือนสมัยก่อน เพราะวิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงไป แต่เราไม่ค่อยจะได้ยินเสียงเพลงเห่เรือของฝีพายและของชาวบ้าน กลับได้ยินเพลงลูกทุ่งแทน เพราะขาดผู้รู้คุณค่าและความสนใจที่จะรักษาไว้ จึงไม่ได้สนับสนุนผู้มีความรู้ความสามารถในการเห่เรือ ให้สืบทอดประเพณีนี้ต่อมา เป็นที่น่ายินดีที่หน่วยงานราชการ และเอกชนบางแห่ง เล็งเห็นคุณค่าของประเพณีแข่งเรือ จึงได้จัดให้มีการแข่งเรือขึ้นในหลายๆท้องถิ่นที่อยู่ริมน้ำ ซึ่งประสบผลสำเร็จ ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติมากมาย


ประวัติและความเป็นมา

       ประเพณีแข่งเรือยาวถือเป็นประเพณีอีกอย่างหนึ่งที่ชาวบ้านริมแม่น้ำโขงที่ทำสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ จะจัดขึ้นในช่วงเดือนกันยายนของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงที่มีน้ำมาก โดยผู้คนในชุมชนจะช่วยกันจัดงานขึ้น มีการคัดเลือกฝีพายที่เป็นชายฉกรรจ์มาลงแข่งขัน และทุกหมู่บ้านจะต้องมีเรือเข้าแข่งขันร่วมกันด้วย ประเพณีการแข่งเรือยาว แบ่งออกได้ 3 ประเภท ดังนี้ เรือยาวประเภททั่วไป ตั้งแต่ 45-55 ฝีพาย เรือยาวประเภทท้องถิ่น กำหนดฝีพายตั้งแต่ 45 ? 55 ฝีพาย ส่วนเรือยาวเล็กกำหนดฝีพายตั้งแต่ 15-25 ฝีพาย
       การจัดประเพณีแข่งขันเรือยาวนั้นจุดประสงค์หลักคือ เพื่อสร้างความสามัคคีของคนในชุมชน เพื่อสักการะเจ้าแม่สองนาง และเพื่อเป็นการส่งเสริมและสืบทอดประเพณีแก่เด็กและเยาวชนรุ่นหลัง ประชาชนได้เกิดความซาบซึ้งและตระหนักถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมไทย ตลอดจนการอนุรักษ์ฟื้นฟูประเพณีอันดีงามของไทยไว้ให้อยู่คู่บ้านเมือง และยังเป็นการปลูกฝังให้รู้รักถิ่นฐานบ้านเกิด ซึ่งเป็นประเพณีที่ควรทำสืบต่อไป
ความสำคัญ


การแข่งเรือเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวฉะเชิงเทรา ซึ่งมีความผูกพันกับแม่น้ำบางปะกง ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนมาแต่โบราณกาล

พิธีกรรม
       การแข่งเรือ นับเป็นประเพณีที่มีการปฏิบัติการมาเป็นเวลายาวนาน โดยถือกำหนดในวันที่มีการแห่หลวงพ่อโสธรทางน้ำเป็นสำคัญ คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี แต่เดิมจัดขึ้นที่บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง หน้าตัวเมือง แต่ปัจจุบันได้ย้ายไปจัดบริเวณหน้าวัดโสธรวรวิหาร เรือที่เข้าแข่งมีหลายประเภท ตั้งแต่เรือยาวเล็ก เรือยาวใหญ่ เรือเร็วติดเครื่องยนต์ ฯลฯ
       การแข่งเรือยาวฝีพายแต่ละลำมีจำนวนประมาณ ๕๐ คนมีหัวหน้าควบคุมเรือ ๑ คน จังหวะการพายจะพาย ๒ ต่อ ๑ คือ ฝีพาย ๒ ครั้ง ผู้คัดท้ายจะพาย ๑ ครั้ง กติกาการแข่งขันผู้ชนะจะต้องชนะ ๒ ใน ๓ คือ เมื่อแข่งเที่ยวแรกไปแล้ว จะเปลี่ยนสายน้ำสวนกัน ถ้าชนะ ๒ ครั้งติดต่อกันถือว่าชนะ แต่ถ้าผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะจะมีการแข่งขันเที่ยวที่ ๓

สาระ
       นอกจากสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตที่ผูกพันกับผืนน้ำของผู้คนแล้วยังเป็นเครื่องบ่งบอกถึงความสมานสามัคคีของบุคคลผู้ที่ได้ชื่อว่าอยู่ในเรือลำเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการฝึกฝน การทุ่มเทแรงกายแรงใจ ความพร้อมเพรียงจังหวะและการประสานสัมพันธ์ ที่ทำให้ไปสู่จุดมุ่งหมายได้โดยมิใช่อาศัยความสามารถของคนใดคนหนึ่ง

วิวัฒนาการของเรือยาว   
       เรือยาว มรดกวัฒนธรรมแห่งสายน้ำ เป็นกีฬาชาวบ้านอันสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตอันดีงามความผูกพัน ระหว่างสายน้ำ กับชีวิต เรือกับวิถีชีวิต บนพื้นฐานของ ความศรัทธา เลื่อมใสในคำสอนของพระพุทธศาสนา อันนำมาซึ่งความเป็น น้ำหนึ่งใจเดียวของบวร ซึ่งแปลว่า ประเสริฐ อันได้แก่ บ้าน วัด โรงเรียน ซึ่งเป็น องค์กร พื้นฐานของชุมชน ชนบทไทย ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของชาติ
       เรือยาวประเพณีไทยได้มีวิวัฒนาการจากวิถีชีวิตมาสู่ประเพณีและวิวัฒนาการไปสู่ระบบการแข่งขั นานาชาติ ในปี พ.ศ.2531 อันเป็นทรัพยากรด้านการ ส่งเสริม การท่องเที่ยว ที่สำคัญจนเป็นที่นิยมแพร่หลาย ไปทั่ว กระทั่งพัฒนาไปสู่การ กีฬาในการ แข่งขัน กีฬาแห่งชาติและระดับประเทศ สามารถจำแนก วิวัฒนาการได้เป็น

1. ยุคอดีต
       แต่ละคุ้มบ้าน คุ้มวัด ในทุกลุ่มน้ำสยามประเทศนิยมหาไม้ตะเคียนนำมาขุดเป็นเรือยาวร่วมการแข่งขันอั แสดงออก ถึงความ พร้อมเพรียงแห่งหมู่คณะ เพื่อสร้างชื่อเสียงเกียรติคุณมาสู่คุ้มบ้าน คุ้มวัดของตนเอง ช่างขุดเรือ ที่มีชื่อเสียง ของประเทศไทย ที่ควรจารึกไว้ในความทรงจำตลอดไปว่าเป็นบรมคร
ภูมิแห่งภูมิปัญญาไทย ในการขุดเรือยาว อาทิ
1.) ช่างเสริม เชตวัน บ้านเกาะหงส์ จังหวัดนครสวรรค์
2.) ช่างมา นคร บ้านเกาะหงส์ จังหวัดนครสวรรค์
3.) ช่างเลิศ โพธิ์นามาศ บ้านหัวดง จังหวัดพิจิตร
4.) ช่างวัน มีทิม บ้านแหลมทราย อำเภอหลังสวน จังหวัดพิจิตร

3. ยุคเรือลาว
นำมาทำสาวไทย ภายหลังการแข่งขันเรือยาวเป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากอิทธิพลแห่งโลกยุคโลกภิวัฒน์ ได้รับ ความสนใจ จากสื่อมวลชน เห็นความ สำคัญของกีฬาชาวบ้าน มรดกวัฒนธรรมแห่งสายน้ำ สยามประเทศ ก่อให้เกิดการ ถ่ายทอดสดในสนามต่าง ๆ จึงมีภาคเอกชนและหน่วยงาน ของรัฐ ตระหนัก ถึงความสำคัญส่งทีมเรือ เข้า ร่วมการชิงชัย และธำรงรักษาไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรม โบราณจาก ประเทศ เพื่อนบ้าน (ลาว) เข้ามาทำการตกแต่งแก้ไข ทำสาวใหม่ ด้วย ฝีมือของชาวไทยเพราะราคา ถูกกว่า เรือไทย เป็นยิ่งนัก

4. ก้าวสู่นานาชาติและกีฬาแห่งชาติ
ปัจจุบันเรือยาวประเพณีเป็นกีฬาทางน้ำบนพื้นฐานของวัฒนธรรมประเพณีที่ได้รับความนิยมแพร่หลายจนก้าวสู่ การแข่งขัน เรือนานาชาติเพื่อส่งเสริมการ ท่องเที่ยวและฝีพายแห่งสยามประเทศก็ประสบความสำเร็จสร้างชื่อเสียง ให้แก่ ประเทศไทย ในการแข่งขันในน่านน้ำสากลทั่วโลก ประการสำคัญ วงการ เรือยาวประเพณีได้รับการ ยอมรับจากวงการกีฬาระดับชาตื ิบรรจุเข้าชิงชัยเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ โดยการพัฒนารูปแบบ ให้เหมาะสมกับ ยุคสมัยที่ เปลี่ยนไปให้ได้ มาตรฐานกีฬาสากลทั่วไป

5. ยุคฝีพายมืออาชีพ พาณิชย์ แทรกแซง
      สังคมไทยยุคปัจจุบัน เงิน หรือ วัตถุดิบ เจริญรุดหน้ากว่าจิตใจ ตลอดจนภาระกิจในการยังชีพในเศรษฐกิจยุค ปัจจุบันส่งผลกระทบก่อให้เกิดความ สับสนต่อ วิถีชีวิต อันดีงามเป็นยิ่งนัก แต่เดิมการแข่งขันเรือยาวประเพณีจาก วิถีชีวิตอันดีงาม เพื่อความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่ง ใจเดียวกันตลอดจน เพื่อนำมาซึ่ง ชื่อเสียง เกียรติยศแห่งคุ้มบ้านคุ้มวัด ก่อให้เกิดฝีพาย มืออาชีพ รับจ้างพายเรือ ด้วยค่าตัวที่สูงส่งและด้วยอำนาจของเงินตราบางครั้งทำให้หลงลืมคำว่า ประเพณี และ วิถีชีวิต อันดีงามของ บรรพชนไปอย่างน่าเสียดายหรือเกิดการแสวงหาผลประโยชน์ในทางที่ผิดจากการจัดการแข่งขัน เป็นสิ่งที่ถึงสังวรระวัง เป็นยิ่งนักหรือ เกิดการเบี่ยงเบนจากคุณงามความดีอันเป็นภูมิรู้ภูมิธรรม ของบรรพชนอย่างแท้จริง

การแข่งขันเรือยาว